วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

แร่เหล็กไหลในประเทศไทย

แร่เหล็กไหลในประเทศไทย
แร่เหล็กไหลในประเทศไทย


แร่เหล็กไหลในประเทศไทย
เหล็กไหลธาตุกายสิทธิ์ที่ยังทรงความลึกลับอยู่จนถึงทุกวันนี้ เหล็กไหลคืออะไร? เหล็กไหลนั้นมีตัวตนจริงหรือไม่? สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่เรามักได้ยินกันอยู่ประจำ ทั้งที่เรื่องราวความอัศจรรย์ของแร่กายสิทธิ์เหล็กไหลนี้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยของเรานี่เอง

ในประเทศไทยนั้นมีสายแร่เหล็กไหลอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งก็เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามลักษณะและสถานที่ที่ค้นพบ อย่างเช่น แร่เหล็กไหลที่พบในบริเวณเขาตาแรด จังหวัดกาญจนบุรี ก็เรียกแร่เหล็กไหลที่พบชนิดนี้ว่า "เหล็กไหลตาแรด" ตามสถานที่ที่ค้นพบแร่เหล็กไหลชนิดนี้ หรือบางครั้งก็เรียกชื่อตามลักษณะของเหล็กไหล อย่างเช่นเหล็กไหลที่ไหลยืดยาวออกมาจากผนังถ้ำ ก็เรียกเหล็กไหลชนิดนี้ว่า "เหล็กไหลย้อย" เป็นต้น

ครูบาอาจารย์ของไทยเราได้นำเอา แร่เหล็กไหลชนิดต่างๆ มาเป็นส่วนผสมในการสร้างวัตถุมงคลมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังปรากฏพบแร่เหล็กไหลในเนื้อพระเครื่องและวัตถุมงคลหลายชนิด ในสมัยโบราณนักรบไทยมักนิยมนำแร่เหล็กไหลติดตัวยามออกศึกสงครามจะได้รอดพ้นจากอันตราย เพราะมีความเชื่อว่าแร่เหล็กไหลนั้น อยู่ยงคงกระพัน สามารถป้องกันคมหอกคมดาบได้ และมักจะนำแร่เหล็กไหลฝังไว้ตามตำแหน่งต่างๆในร่างกายอย่างเช่น บริเวณใต้ ท้องแขน และบริเวณหัวไหล่ เป็นต้น ยามเมื่อถูกข้าศึกจับตัวได้ศัตรูจะได้ไม่เห็นแร่เหล็กไหลที่ ฝังไว้ภายในตัว อีกทั้งจะได้ไม่ต้อง คอยกังวลว่าเหล็กไหลจะตกหายในระหว่างที่ทำการสู้รบอีกด้วย จะเห็นได้ว่าคนไทยรู้จักแร่ชนิดนี้มานานแล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะมีการเรียกชื่อแร่เหล็กไหลที่แตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ว่าครูบาอาจารย์สายใดเป็นผู้ค้นพบ แต่แร่เหล็กไหลก็ยังคงมีอานุภาพ ที่ใช้ในการป้องกันตัวได้เท่าเทียมกัน

แร่เหล็กไหลที่มีอานุภาพสูงนั้นกล่าวกันว่าสามารถป้องกันอันตรายจากปืนได้เรียกว่าเป็น "มหาอุด" คือทำให้ปืนยิงไม่ออกอานุภาพมหาอุดนั้นจะพบในแร่เหล็กไหลประเภทเหล็กไหลน้ำหนึ่ง ที่ไม่ยอมแข็งตัวเองตามธรรมชาติ ต้องอาศัยวิชาการตัดเหล็กไหล เท่านั้นจึงจะได้เหล็กไหลชนิดนี้มาครอบครองเหล็กไหลน้ำหนึ่งจึงเป็น เหล็กไหลที่หาได้ยากยิ่งนักอีกทั้งในธรรมชาติก็มีเหล็กไหลชนิดนี้อยู่น้อยมากราคาของแร่กายสิทธื้เหล็กไหลชนิดนี้จึงสูงมาก

เนื่องจากเหล็กไหลมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดบางท่านจึงนิยมเรียกว่า "เหล็กหลาย" คือมีหลายพันธุ์นั่นเอง แต่ชนิดหลักๆของเหล็กไหล

2 ความคิดเห็น:

  1. ผมว้าเห็ลกไหลมีจริงผมก็มีอยู่1องแต่ไม่รู้แท้หรือเป่ลา

    ตอบลบ
  2. ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

    ตอบลบ