นอกจากนี้แร่ที่ชาวเหนือถือว่าเป็นเหล็กไหลและได้นำเอามาใช้เป็นมวลสารในการสร้างพระรอดลำพูนยังก็มีอีกหลายชนิดที่สำคัญคือ"เป็ก"หรือ"แร่ข้าวตอกพระร่วง"ซึ่งจัดเป็นแร่เหล็กไหล กายสิทธิ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมสีแดงอมดำฝังตัวอยู่ในพื้นดิน แร่เหล่านี้คนโบราณได้นำเอามาบดจน ละเอียดและได้นำมาสร้างเป็นพระรอดลำพูนจนมีการกล่าวขานกันว่า"พระรอดพระเหล็ก"ทั้งนี้เพราะส่วนผสมส่วนใหญ่ของพระรอดนั้น มีเชื้อของแร่เหล็กไหลกายสิทธิ์ในตระกูลเหล็กไหลอยู่หลายชนิด ด้วยกัน แสดงให้เห็นว่าในยุคสมัยเมื่อพันกว่าปีมาแล้วผู้ทรงฌาน สมาบัติได้ให้ความสำคัญในเรื่องแร่กายสิทธิ์เหล็กไหลไม่น้อย เมื่อมี การสร้างพระเพื่อสืบพระศาสนาและเพื่อเป็นมิ่งขวัญกับบ้านเมืองก็ยัง ได้มีการเอาแร่สกุลเหล็กไหลชนิดต่างๆ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ ซึ่งนอกจากการนำเอาเชื้อมวลสารเหล็กไหลมาสร้างเป็นพระรอดลำพูน
อันเลื่องชื่อแล้วยังได้นำเอามวลสารเหล็กไหลนี้มาสร้างเป็นพระ เครื่องอื่นๆ อีก เช่น พระเปิม พระคงและพระสกุลลำพูนอีกหลาย ชนิดด้วยกัน
นอกจากพระสกุลลำพูนแล้วพระเครื่องอย่างพระซุ้มกอ ก็มีส่วนผสมของแร่เหล็กไหลโดยเฉพาะแร่ดอกมะขามเช่นเดียวกัน กับพระรอดลำพูนรวมไปถึงพระผงสุพรรณและพระเครื่องที่จัดเป็น จักรพรรดิแห่งพระเครื่องทั้งปวงคือพระสมเด็จวัดระฆังก็ได้มีการ นำเอามวลสารที่เป็นเหล็กไหลมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการสร้าง ด้วยเช่นกัน พระเครื่องในยุคพุทธศตวรรษที่12-16โดยมากมักเกิดจากการสร้างของฤาษีชีไพรททีทรงฌานสมาบัติแก่กล้าทรงความรู้ทางว่านยาและแร่ธาตุกายสิทธิ์จึงเน้นหนักในการนำเอามวลสารของธาตุทั้งปวง ในตระกูลเหล็กไหลมาผสมเป็นองค์พระ โดยนำธาตุกายสิทธิ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่น เช่นข้าวตอกพระร่วง แร่เม็ดมะขาม โคตรเหล็กไหลทรหด โคตรเหล็กไหลงอก ฯลฯ มาเป็นส่วนผสมหลักๆ ในการสร้างพระรอด พระซุ้มกอ และพระนางพญา ซึ่งบางองค์ก็มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก ที่เข้มข้นจนสามารถเอาแม่เหล็กมาดูดติดได้อย่างน่าอัศจรรย์
เรื่องมวลสารเหล็กไหลในพระสมเด็จนั้นเข้าใจว่าน่าจะได้มา จากหลวงตาจัน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เนื่องจากหลวงตาจันมักชอบออกธุดงค์และได้ของแปลกๆ กลับมา ทุกครั้ง หลวงตาจันผู้นี้แต่เดิมเป็นฆราวาสชอบเล่นฤทธิ์และติดจริต นิสัยทางไสยศาสตร์ ชอบปล่อยของลองภูมิพระธุดงค์จนกระทั่งตาจัน เข้าสู่วิถีญาณของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน สมเด็จฯท่านจึงมา โปรดและทำการประลองฤทธิ์ โดยตาจันได้เสกผ้าขาวม้าเป็นไก่ชน สมเด็จฯท่านก็เสกรัดประคดเป็นไก่ชนเช่นกัน แล้วเข้าไปจิกตีกัน อยู่อย่างนั้น ไม่นานนักไก่ของสมเด็จฯก็ชนะ จนมีการกล่าวขานกัน ในสมัยนั้นว่า“ไก่โลกียะหรือจะสูไก่โลกุตตระ" หลังจากนั้นตาจันจึงได้ มาศึกษากรรมฐานกับสมเด็จฯที่วัดพลับ จนกระทั่งเมื่อสมเด็จฯท่านสิ้นพระชนม์แล้ว ตาจันก็ออกบวชและภายหลังจึงได้สร้างพระเครื่องขึ้นมา ในการสร้างพระเครื่องของหลวงตาจันนั้น เนื่องจากหลวงตาจัน ทำผงพระพุทธคุณไม่เป็นเพราะไม่ได้รํ่าเรียนมา ดังนั้นหลวงตาจัน จึงมักไปขอผงพระพุทธคุณจากสมเด็จโตอยู่เสมอ
และหลวงตาจันก็มักเอาผงศักสิทธิ์ที่ท่านได้มาจากตามป่าตามเขานำไปมอบให้ท่านเจ้าคุณสมเด็จเรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนผงวิเศษซึ่งกันและกัน ผงวิเศษของหลวงตาจันนี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น ผงพระธาตุ ผงขี้เหล็กไหลและโคตรเหล็กไหลเป็นต้น รวมทั้งผงว่านยาอีกหลาย ชนิดที่ได้นำมารวมกันเพื่อสร้างพระบรรจุในกรุ และยังกลายเป็น ล่วนหนึ่งของมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังด้วย
หากลองส่องดูมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นว่าบางส่วนนั้นมีผงสีดำขนาด เล็กเท่าปลายเข็มอยู่ มวลสารดังกล่าวนี้เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารที่มีเชื้อเหล็กไหล มิหนำซ้ำบางครั้งมวลสารเหล่านี้ยังดูดติดแม่เหล็กอีกด้วย และอีกประการหนึ่งที่เชื่อได้ว่าพระสมเด็จวัดระฆัง มมวลสารของเหล็กไหลผสมอยู่ก็คือ จากตำราการสร้างพระเครื่อง วัดระฆังนั้นกล่าวไว้ว่า สมเด็จฯ ท่านใช้สูตรการสร้างพระมาจากการ สร้างพระซุ้มกอ ดังนั้นเมื่อองค์พระซุ้มกอยังมีแร่เหล็กไหล เช่น แร่ดอกมะขามและแร่เหล็กกายสิทธิ์อีกหลายชนิดอยู่ภายในเช่นนั้น แล้วพระสมเด็จอันเลื่องชื่อที่ถือว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่องใน เบญจภาคีก็ย่อมมีแร่เหล็กไหลเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารเช่นกัน
พระเหล็กไหล พระเบญจภาคี |
หลายท่านอาจสงสัยว่า มวลสารเหล็กไหลที่ผสมลงไปใน พระเครื่องดีทางไหน? และเพราะเหตุใดจึงต้องนำเหล็กไหลมาใช้เป็น มวลสารสำคัญในการสร้างพระเครื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน?คำตอบ ก็คีอมวลสารเหล็กไหลอันเป็นมวลสารที่เป็นกายสิทธี้นั้น ดีเด่นที่สุด ในเรื่องของคงกระพัน สามารถป้องกันภยันตรายจากศาลตราวุธ
ของมีคม ปืน ระเบิดทั้งปวง รวมไปถึงสามารถป้องกันเขี้ยวงาได้สารพัดทั้งอสรพิษจะไม่กล้าขบกดผู้นั้นเลย นอกจากนี้เหล็กไหลยังมีคุณสมบัติ ตามธรรมชาติที่สามารถดูดซับพลังงานทางจิตได้เป็นอย่างดี จึงเป็นผลให้มวลสารที่มีเชื้อของเหล็กไหลสามารถเก็บพลังพระพุทธคุณหรืออำนาจจิตจากการปลุกเสกพระเครื่องของครูบาอาจารย์ได้เป็นอย่างดีและทำให้ทวีความขลังมากขึ้นไปอีก ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงทำให้มวลสารเหล็กไหลเป็นมวลสารหนึ่งที่นิยมใช้ในการสร้างพระเครื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และอาจกล่าวได้ว่าพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ที่พบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ย่อมมีมวลสารของเหล็กไหลฝังอยู่ ภายในพระเครื่องเป็นแน่แท้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น